ក្រុម​ភាសា​ថៃកៈដៃ៖ ភាពខុសគ្នារវាងកំណែនានា

ខ្លឹមសារដែលបានលុបចោល ខ្លឹមសារដែលបានសរសេរបន្ថែម
បានបង្កើតទំព័រដែលផ្ដើមដោយ ឯកសារ:Taikadai-en.svg|300px|thumb|ផែនទី​នេះ​បង្ហាញ​តំបន់​ដ...
(គ្មានភាពខុសគ្នា)

កំណែនៅ ម៉ោង០០:១៨ ថ្ងៃច័ន្ទ ទី១៤ ខែតុលា ឆ្នាំ២០១៣

ក្រុម​ភាសា​ថៃកៈដៃ หรือรู้จักกันในนามหรือ กะได หรือ กระได เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไทกะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก

ផែនទី​នេះ​បង្ហាញ​តំបន់​ដែល​និយាយ​ភាសា​មួយ​ក្នុង​ក្រុម​ភាសា​ថៃកៈដៃ

  กระ
  คำ-สุย
  เบ
  ไหล

  ไตเหนือ
  ไตกลาง
  ไตตะวันตกเฉียงใต้

Roger Blench ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน

ข้อเสนอของ Laurent Sagart ได้กล่าวว่าภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่นๆที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก

ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็น ประเทศไทย และ ลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

ภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะไดประกอบด้วยกลุ่มภาษาที่จัดแบ่งไว้ 5 สาขา ดังนี้

การจัดแบ่งนี้ใช้พื้นฐานจากคำศัพท์จำนวนมากที่ใช้ร่วมกัน สาขาคำ-สุย เบ และไต มักถูกจัดให้อยู่รวมกัน (ดูเพิ่มที่กลุ่มภาษาคำ-ไต) อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีความเห็นที่โต้แย้ง ด้วยสาเหตุว่าอาจเป็นการแทนที่คำในสาขาอื่น และความคล้ายเชิงสัณฐานวิทยาได้แนะนำให้จัดสาขากระกับคำ-สุย เป็นกลุ่มกะไดเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไต เป็นกลุ่มกะไดใต้อีกทางหนึ่ง ดังภาพ ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้วย

กะได
กะไดเหนือ

กระ

คำ-สุย

กะไดใต้

ไหล

ไต

?

อังเบ

ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ ไต กับ กะได ซึ่งเลิกใช้แล้ว กลุ่มภาษากะไดเช่นนี้ถ้ามีกลุ่มภาษาไตอยู่ด้วยจึงจะหมายถึงกลุ่มที่ถูกต้อง ในบางบริบทคำนี้อ้างถึงตระกูลภาษาทั้งหมด แต่บางบริบทก็หมายถึงกลุ่มภาษากระภายใต้ตระกูลภาษานั้น

กลุ่มภาษาไหล

กลุ่มภาษากระ

กลุ่มภาษาไต

กลุ่มภาษาคำ-สุย

  • กลุ่มภาษาลักเกีย-เบียว (จีนแผ่นดินใหญ่)
  • ภาษาคำ-สุย (จีนแผ่นดินใหญ่)
    • ภาษาอ้ายจาม (Ai-Cham)
    • Cao Miao
    • ภาษาต้งเหนือ (Northern Dong)
    • ภาษาต้งใต้ (Southern Dong)
    • ภาษาคัง (Kang)
    • Mak
    • ภาษามู่หลาม (Mulam)
    • ภาษาเมาหนาน (Maonan)
    • ภาษาสุย (Sui)
    • T’en

อ้างอิง

  • Edmondson, J.A. and D.B. Solnit eds. 1997. Comparative Kadai: the Tai branch. Dallas: Summer Institute of Linguistics and the University of Texas at Arlington.
  • Ostapirat, Weera. 2005. "Kra-Dai and Austronesian: Notes on phonological correspondences and vocabulary distribution", pp. 107–131 in Sagart, Laurent, Blench, Roger & Sanchez-Mazas, Alicia (eds.), The Peopling of East Asia: Putting Together Archaeology, Linguistics and Genetics. London/New York: Routledge-Curzon.
  • Roger Blench (PDF format)
  • Ethnologue report Retrieved 3 August 2005.
  • ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). นิทรรศการถาวร กลุ่มชาติพันธุ์ และโบราณคดี (ชั้น 5)

ទំព័រគំរូ:ตระกูลภาษามีคนพูดมาก 10 อันดับ ទំព័រគំរូ:ภาษาไทกะได