ស៊ីយ៉ាញួរ៖ ភាពខុសគ្នារវាងកំណែនានា

ខ្លឹមសារដែលបានលុបចោល ខ្លឹមសារដែលបានសរសេរបន្ថែម
បានបង្កើតទំព័រដែលផ្ដើមដោយ {{สั้นมาก}} ឯកសារ:Cyanide-montage.png|thumb|right|150px|โครงสร้างของ...
(គ្មានភាពខុសគ្នា)

កំណែនៅ ម៉ោង១៩:០៥ ថ្ងៃអង្គារ ទី២៩ ខែតុលា ឆ្នាំ២០១៣

ទំព័រគំរូ:สั้นมาก

โครงสร้างของไซยาไนด์ไออน หรือ CN.
จากด้านบน:
1. Valence-bond structure
2. Space-filling model
3. Electrostatic potential surface
4. 'Carbon lone pair' HOMO

ស៊ីយ៉ាញួរ (បារាំង: cyanure) เป็นสารพิษชนิดหนึ่ง มีทั้งในรูปของแข็งและก๊าซ ไซยาไนด์ ( Cyanide ) ที่คุ้นๆ กันดีมีอยู่ 2 รูปแบบ คืออย่างเป็นก๊าซ นั่นคือ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ( Hydrogen Cyanide ) ซึ่งมีสูตรเคมีว่า HCN จะเรียกมันว่าก๊าซไซยาไนด์ ( Cyanide gas ) ก็ได้ และอย่างที่เป็นเกลือของไซยาไนด์ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายตัว แต่ขอพูดถึงแต่ โพแทสเซียมไซยาไนด์ ( Potassium Cyanide - KCN )

โพแทสเซียมไซยาไนด์ ( KCN ) มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นผงที่ละลายน้ำได้ มีกลิ่นคล้าย ๆ อัลมอนด์ แต่ก็เป็นกลิ่นที่จางมากเลย

การหย่อนเกลือไซยาไนด์ลงในกรดจะทำให้เกิดก๊าซไซยาไนด์ ( HCN ) พุ่งขึ้นมาทันที ก๊าซนี่กลิ่นเหมือนอัลมอนด์ แต่ก็กลิ่นจางมาก จางจนต้องอาศัยความเชี่ยวชาญซักหน่อยในการได้กลิ่นก๊าซไซยาไนด์ มีสถิติว่าประมาณ 20% ของผู้ใหญ่จะเป็นคนที่ไม่สามารถจับกลิ่นก๊าซไซยาไนด์ได้เลยเนื่องจากมันเป็นกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ก๊าซไซยาไนด์ก็เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่ายมาก และทำปฏิกิริยาได้รุนแรง ผลลัพธ์ของก๊าซไซยาไนด์จำนวนมากรั่วมาสู่อากาศอาจจะระเบิดได้

ความน่ากลัวของไซยาไนด์

มันสามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว ไซยาไนด์สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูด เอาก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ ถ้าเป็นการกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็จะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที ถ้ามีข้าวอยู่เต็มกระเพาะแล้ว ก็หน่วงเวลาตายอีกหน่อยเป็นชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็เหมือนการหย่อนมันลงในกรดนั่นแหละ มันก็จะทำปฎิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในตัวเรา ผลลัพธ์เลยออกมารวดเร็วกว่ากินขณะท้องว่างหลายเท่า แต่ถ้าเป็นการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไปอันนี้เร็วมาก นับเวลาตายถอยหลังเป็นวินาทีได้เลย

ความเข้มข้นของไซยาไนด์ก็มีผลกับความเร็วมาก ถ้าจับคนล็อกไว้ในห้องก๊าซขนาด 1x1x1 เมตร แล้วปล่อยก๊าซไซยาไนด์เข้าไปซัก 300 มิลลิกรัม เขาจะตายทันทีโดยไม่ทันร้องซักแอะ แต่ถ้าปล่อยก๊าซไซยาไนด์ 150 มิลลิกรัมเข้าไป เขาจะมีเวลาอีกประมาณ 30 นาทีไว้ทรมานก่อนตาย แล้วถ้าปล่อยก๊าซเข้าไปแค่ 20 มิลลิกรัม เขาจะยังไม่ตาย เพียงแต่จะมีอาการผิดปกติเล็กน้อยหลังจากนั้น

ไซยาไนด์มีความจำเป็นกับอุตสาหกรรมหลายประเภท ก๊าซไซยาไนด์ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารประกอบไซยาไนด์อื่น ๆ ซึ่งก็เอาไปใช้ทำอะไรได้ตั้งหลายอย่างเช่นไนลอน เส้นใยอะครีลิก เรซิน ยาปราบศัตรูพืช เกลือไซยาไนด์ต่าง ๆ ก็มีบทบาทในการผสมโลหะ การแยกแร่ทองคำ การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ด้วย

ไซยาไนด์ฆ่าคนได้ยังไง อาหารที่เรากินเข้าไปนั้นร่างกายจะนำไปผ่านกระบวนการซับซ้อนหลายขั้นตอน เพื่อให้กลายเป็นพลังงานเก็บไว้ใช้ เพราะร่างกายเราต้องการพลังงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่เวลาที่เรานั่งเฉย ๆ คิดเรื่อยเปื่อยร่างกายก็ยังใช้พลังงานไปกับการคิด การเก็บพลังงานนี้จะเป็นการเก็บไว้ในสารที่ใช้เก็บพลังงาน โดยเฉพาะซึ่งก็มีอยู่หลายชนิด ซึ่งร่างกายสร้างมา หนึ่งในกระบวนการสร้างสารเก็บพลังงานนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า Electron Transfer System ( เรียกย่อว่า ETS ) ซึ่งในสภาพปกติแล้วจะเป็นการส่งผ่านอิเล็กตรอนที่ได้จากอาหาร ให้กับตัวรับที่เรียกว่า cytochrome ระหว่างการส่งอิเล็คตรอนไปเรื่อยเป็นทอด ๆ จะมีการปล่อยพลังงานออกมาให้ตัวเก็บพลังงานรับไป แล้วเราจะได้สารเก็บพลังงานมาหนึ่งตัว เมื่อมีไซยาไนด์ ไซยาไนด์จะไปเกาะที่ cytochrome ทำให้การส่งต่ออิเล็คตรอนชะงัก การสร้างสารเก็บพลังงานชะงัก แล้วเราก็ตาย ไซยาไนด์ยังสามารถไปเกาะกับฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารตัวที่ร่างกาย ใช้ขนส่งออกซิเจนไปตามที่ต่าง ๆ ทั่วร่างกายด้วย เมื่อมีไซยาไนด์มาเกาะหมับแทนที่ออกซิเจนแล้ว เซลล์ในร่างกายเราย่อมทุรนทุราย เพราะขาดออกซิเจนอันเป็นของจำเป็นต้องใช้ ในที่สุดก็ตายอีกเช่นกัน สภาพของคนที่ตายเพราะไซยาไนด์จึงมีลักษณะเหมือนคนขาดอากาศหายใจตาย ด้วยเหตุนี้ไซยาไนด์จึงสามารถทำให้คนตายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อาการของคนที่กินไซยาไนด์เข้าไปยังไม่รุนแรง - กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก - หายใจลำบาก - ปวดหัว รู้สึกมึนๆ วิงเวียน - คลื่นไส้ อาเจียน - ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จาง ๆ - รู้สึกระคายเคืองคัน ๆ ที่จมูก คอ ปาก

อันนี้แย่แล้ว - คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงกว่า - หายใจลำบากขนาดต้องอ้าปากพะงาบ ๆ งับอากาศ - ชักดิ้นชักงอ - หมดสติ

ถ้าไปพบคนกำลังแย่เพราะไซยาไนด์อยู่ตรงหน้า ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเป็นการกินเข้าไปก็ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลล้างท้องเร็วที่สุด ถ้าเป็นก๊าซไซยาไนด์ ก็ต้องพาออกไปให้พ้นจากบริเวณที่มีก๊าซให้เร็วที่สุด ถ้าเสื้อผ้าหรือผิวหนังเปื้อนสารไซยาไนด์ก็ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ที่สำคัญคือคนช่วยต้องระวังตัวมาก ๆ อย่าสูดลมหายใจของผู้ป่วยเข้าไปเป็นอันขาด แล้วเรียกรถพยาบาลมาด้วย.

อ้างอิง

ទំព័រគំរូ:รายการอ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64ad0c490a051033

แหล่งข้อมูลอื่น

ទំព័រគំរូ:โครงเคมี หมวดหมู่:สารพิษ หมวดหมู่:ไอออนลบ